Sunday, December 14, 2014

อุตสาหกรรมเกลือ ถือเป็นอุตหสากรรมในกลุ่มเดียวกับเหมืองทองคำหรือเหมืองถ่านหิน แต่มูลค่าแตกต่างกันอย่างที่สุด

เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ทำการผลิตจากวัตถุดิบที่ถือเป็นสินแร่ของประเทศ จะต้องมีการขออนุญาตและมีการประเมินทุกปี แต่เมื่อมองมูลค่าของผลิตภัณฑ์แล้วเทียบกันไม่ได้เลยแม้แต่น้อย

ภาคอีสานของประเทศไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักของคนในภาคอีสาน แต่ในบางพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องการเพาะปลูกซึ่งส่วนใหญ่ก็คือปัญหาเรื่องความแห้งแล้ง แต่ยังมีอาชีพหนึ่งที่ทำต่อเนื่องกันมาจากรุ่นปู่รุ่นย่าจนถึงรุ่นผู้ประกอบการในปัจจุบัน
การทำเกลือหรือการทำนาเกลือ เป็นอาชีพในปัจจุบันที่หาคนรุ่นใหม่มาดำเนินกิจการต่อจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ยากเต็มที เนื่องจากจะต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลักและมูลค่าต่อหน่วยก็ต่ำเมื่อเทียบกับอาชีพเกษตรกรรมอื่นๆ
การผลิตเกลือในภาคอีสานปัจจุบันเหลืออยู่ 2 แบบ คือการทำนาเกลือแบบตากและแบบต้มเกลือ การทำนาเกลือแบบตาก ต้องใช้พื้นที่เป็นบริเวณกว้างในการระเหยน้ำออกจากเกลือ แต่การต้มเกลือจะเป็นการสูบน้ำเค็มจากใต้ดินขึ้นมาต้มเพื่อระเหยน้ำออกจากเกลือ ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่แรงงานและเชื้อเพลิงในการต้มเกลือ การผลิตเกลือโดยวิธีการต้มจะมีระยะเวลาในการผลิตต่อ 1 รอบการผลิตประมาณ 2 วัน จึงจะได้เกลือพร้อมรับประทาน ระยะเวลาส่วนใหญ่สูญเสียไปกับแยกน้ำออกจากเกลือ ปัญหาของการทำนาเกลือแบบตาก คือการรวบรวมเกลือที่แห้งแล้วจากพื้นที่นาเกลือ การรวบรวมเกลือที่แห้งแล้วจะต้องใช้แรงงานคนและความชำนาญในการเก็บเกลือจากนาเกลือ ส่วนปัญหาของการทำเกลือแบบต้มเกลือคือ เชื้อเพลิงในการต้มเกลือเพราะจะต้องต้มน้ำเค็มด้วยความร้อนที่พอเหมาะต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 8 ชม.จึงจะได้เกลือที่แห้งพอเหมาะ แต่ก็ยังไม่สามารถนำไปบรรจุได้ ต้องทำการตากและอบอีกประมาณ 8 ชม.จึงจะสามารถนำไปบรรจุเพื่อจำหน่ายได้ต่อไป

by Chayanon

No comments:

Post a Comment